โลกแบ่งเขตเวลาออกเป็น 24 เขตเวลา โดยใช้เส้นลองติจูดแบ่งเขตต่างๆ
บนแผนที่ นับเริ่มต้นจากเมืองกรีนวิช ( Greenwish )
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
โดยที่เขตเวลาที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองกรีนวิช เวลาจะเร็วกว่า 1
ชั่วโมง ส่วนเขตเวลาที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองกรีนวิชเวลาจะช้ากว่า 1
ชั่วโมง
ส่วนเวลาในประเทศไทยนั้น ในสมัยโบราณคนไทยกำหนดเวลาอย่างคร่าวๆ คือ
ตอนดวงอาทิตย์ขึ้นเรียกว่า ย่ำรุ่ง
เวลาดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะพอดีเรียกว่า เที่ยงวัน และ
เวลาดวงอาทิตย์ตกเรียกว่า ย่ำค่ำ ต่อมาได้มีการจัดตั้งกรมอุทกศาสตร์
และมีนาฬิกาใช้ จึงมีการกำหนดเวลาให้เร็วกว่าเวลาที่เมืองกรีนวิช 6
ชั่วโมง 41นาที 58.2 วินาที
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2462
ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีการประชุมว่าด้วยอุทกศาสตร์ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
รัฐบาลไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเวลาที่ใช้สำหรับประเทศต่างๆ
ให้นับห่างกันเพียงกึ่งชั่วโมง เพื่อให้สะดวกในการคิดคำนวณ
และได้กำหนดให้เมืองกรีนวิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นจุดแห่งการกำหนด
และเรียกว่า เวลามาตรฐานกรีนวิช ( Greenwish Mean Time )
ดังนั้นประเทศไทยจึงได้เปลี่ยนมาใช้เวลามาตรฐานเป็นเวลามาตรฐานของประเทศไทย
โดยเป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนวิช 7 ชั่วโมงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน
พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา
ที่มา http://yatchshopwatch.lnwshop.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น